เมนู

เอวํปิ เว ปณฺฑฺตร ราชเสฏฺฐ
ธมฺมํ สุตฺวา น ตปฺปนฺติ สุภาสิเตน

มีใจความว่า ราชเสฏฺเฐ ดูรานะบพิตรพระราชสมภารผู้ประเสริฐ ธรรมดาว่าเพลิง
ไหม้หญ้าแห้งแล้วมิได้รู้อิ่ม และสมุทรอันใหญ่มิรู้เต็มด้วยน้ำ ยถา มีครุวนาฉันใด พระโยคาวจร
เจ้าก็มิได้อิ่มด้วยสุภาษิต ดุจเพลิงและสมุทรฉันนั้นดังนี้ ขอถวายพระพร
จบลาวุลตาวรรคที่ 2 แต่เท่านี้
ในที่สุดวรรคนี้ พระคันถรจนาจารย์เจ้า ผูกอุทานคาถากล่าวหัวข้อบทมาติกา ที่แสดง
มาข้างต้นไว้ว่า
ลาวุลตา จ ปทุมํ พีชํ สาลกลฺยาณิกา
นาวา จ นาวาลคฺคนํ กูโป นิยามิโก ตถา
กมฺมากาโร สมุทฺโท จ วคฺโค เตน ปวุจฺจติ

มีใจความว่า องค์แห่งน้ำเต้า องค์แห่งประทุม องค์แห่งพืช องค์แห่งไม้ขานาง
องค์แห่งเรือ องค์แห่งเรือที่ติดโสโครก องค์แห่งเสากระโดง องค์แห่งต้นหน องค์แห่งคนทำการ
งาน องค์แห่งสมุทร เหล่านี้ท่าจัดเป็นวรรคอันหนึ่ง ดังนี้แล

จักกวัตติวรรค ที่ 3


สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นสาคลาช จึงมีพระราชโองกการประภาษถามในองค์ 5
แห่งปฐพีกะพระนาคเสนสืบต่อไป
พระนาคเสนจึงถวายพระพรว่า องค์แห่งปฐพีนั้น บุคคลจะเรี่ยรายลงซึ่งของพึงใจ และ
มิได้พึงใจ คือเสมหะและน้ำมูกน้ำลาย ถ่ายอุจจาระปัสสาวะลงก็ดี ปฐพีมิได้ยินดียินร้าย ยถา มี
ครุวนาฉันใด พระโยคาวจรเจ้านั้น จะได้ลาภอันพึงใจก็ดี จะมียศหรือความเลื่อมยศก็ดี
จะได้สรรเสริญนินทาสุขทุกข์สิ่งใด ๆ ก็ดี ก็มีอารมณ์เป็นอุเบกขาคือคงที่ไม่หวั่นไหว ดุจปฐพี
ฉะนั้น นี่เป็นองค์แห่งปฐพีเป็นปฐม